สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2549
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2549

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2549

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 เป็นสภาที่ตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา ตามมาตรา 5 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวน 242 คน เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 โดยพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการใน พ.ศ. 2550 สื่อมวลชนประจำรัฐสภาได้ตั้งฉายาสภานี้ว่า "ขัน-ที สีเขียว" เพราะสมาชิกได้รับการคัดสรรโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ให้เข้ามาใช้อำนาจนิติบัญญัติ สมาชิกส่วนใหญ่มาจากข้าราชการทหาร ข้าราชการประจำ และอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ จนถูกมองว่าเป็นสภา "สีเขียว" สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ออกกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ให้กับ คมช. และเพิ่มอำนาจทหารหลายฉบับ โดยเฉพาะร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยไม่สนใจเสียงคัดค้านอย่างหนักจากองค์กรภาคสังคม และอนุมัติกฎหมาย 70 ฉบับภายในเวลาเพียง 3 วัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สนช. เปรียบได้กับ "นกเขา" เมื่อเจ้าของดีดนิ้วก็พร้อม "ขัน" ตอบรับตามสัญชาตญาณทันที[1]

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2549

ประเภท ระบบสภาเดี่ยว
รองประธานคนที่ 2 พจนีย์ ธนวรานิช
รองประธานคนที่ 1 จรัล กุลละวณิชย์
สมาชิก 242 คน
กลุ่มการเมืองใน แต่งตั้ง
ประธาน มีชัย ฤชุพันธุ์

ใกล้เคียง

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2549 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ญี่ปุ่น) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2516 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2534 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2515 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2520